ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

New York City

นครนิวยอร์ก หรือ นิวยอร์กซิตี (อังกฤษ: New York City; NYC) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก มี ตึกระฟ้า ตึกสูงมาก ตลอดระยะเวลา 150 ปี เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ อีกด้วย

นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม. (305 ตร.ไมล์) นอกจากจะมีประชากรมากที่สุดแล้ว สัดส่วนประชากรต่อพื้นที่ยังถือว่าหนาแน่นที่สุดในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย

ลักษณะเฉพาะของนิวยอร์กต่างจากเมืองอื่นของสหรัฐอเมริกา มีให้เห็นหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่ระบบขนส่งที่มีโครงข่ายขนาดใหญ่ ความเหมือนและความแตกต่างกันของประชากร ใน ค.ศ. 2005 มีภาษาประมาณ 170 ภาษาที่ใช้กันในเมืองแห่งนี้ และ 36% ของประชากรไม่ได้เกิดและโตในสหรัฐอเมริกา ระบบรถไฟใต้ดินนครนิวยอร์กที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง บวกกับการจราจรและผู้คนที่พลุกพล่านอยู่ตลอดเวลา จึงมีคำเปรียบเปรยถึงนิวยอร์กว่าเป็น “เมืองที่ไม่เคยหลับใหล” ขณะเดียวกันเมืองแห่งนี้ยังมีชื่อเล่นอื่นๆ อีกด้วยอย่าง “กอร์ทเทม” (Gotham) และ “บิ๊กแอปเปิล” (Big Apple)

ชาวดัชต์ถือเป็นผู้คนกลุ่มแรกที่เข้ามาเริ่มปักหลักทำการค้าใน ค.ศ. 1624 ซึ่งนั่นได้ทำให้เมืองแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ ค.ศ. 1785 จนกระทั่ง ค.ศ. 1790 และเคยเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่ ค.ศ. 1790 เทพีเสรีภาพ (Statue of Liberty) ได้ให้การตอนรับผู้มาเยือนหลายล้านคน ที่เดินทางมายังสหรัฐอเมริกา ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 20 วอลล์สตรีท (Wall Street) ที่ตั้งอยู่ในแมนแฮตตันตอนใต้ ก็ถือเป็นศูนย์กลางที่มีอิทธิพลต่อระบบการเงินของโลกมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE: New York Stock Exchange) ในปัจจุบัน นิวยอร์กมีสถานที่สำคัญที่มีชื่อเสียงและเป็นสัญลักษณ์ของโลกหลายแห่ง รวมทั้งตึกที่เคยสูงที่สุดในโลกอย่างตึกเอ็มไพร์สเตท (Empire State Building) อีกด้วย

นิวยอร์กยังเป็นบ้านเกิดของวัฒนธรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานวรรณกรรมและทัศนศิลป์ที่เรียกว่า ฮาเล็ม เรอเนสซองค์ (Harlem Renaissance) งานภาพเขียนที่เรียกว่าศิลปะกึ่งนามธรรม (Abstract Expressionism) หรือที่รู้จักกันว่า “นิวยอร์กสคูล” วัฒนธรรมทางดนตรีอย่าง ฮิปฮอปพังค์ ซัลซ่า และดิสโก้ รวมทั้งยังเป็นบ้านเกิดของละครบรอดเวย์อีกด้วย

เดิมทีของนิวยอร์กเป็นที่อยู่ของชนอเมริกันพื้นเมืองที่เรียกว่า “เลนาเป” (Lenape) ขณะนั้นมีประชากรประมาณ 5,000 คน ซึ่งอาศัยดินแดนแห่งนี้อยู่นานนับพันปี ก่อนที่จิโอวานี เดอ เวเรซาโน่ (Giovanni da Verrazzano) นักเดินเรือชาวอิตาเลียนจะค้นพบนิวยอร์กใน ค.ศ. 1524 โดยได้รับคำบัญชาจากราชวงศ์ฝรั่งเศส และเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า “Nouvelle Angoul?me” (New Angoul?me ในภาษาอังกฤษ)

ค.ศ. 1614 ชาวยุโรปได้เข้ามาตั้งรกรากอย่างจริงจัง โดยเริ่มก่อตั้งชุมชนค้าผ้าขนสัตว์ของชาวดัตช์ และเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า "นิว นีเดอร์แลนด์" (“Nieuw Nederland” ในภาษาดัตช์) เรียกท่าเรือและเมืองในตอนใต้ของเกาะแมนแฮตตันว่า “นิวอัมสเตอร์ดัม” (Nieuw Amsterdam ในภาษาดัตซ์) มี Peter Minuit เป็นผู้ปกครองอาณานิคมนี้ ซึ่งต่อมาเขาได้ซื้อเกาะแมนแฮตตันทั้งหมดจากชนพื้นเมือง ใน ค.ศ. 1626 มูลค่าทั้งหมด 60 กิลเดอร์ (Guilders) หรือประมาณ $1,000 ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2006) แต่ต่อมามีข้อพิสูจน์ว่าไม่จริง กล่าวคือ เกาะแมนฮัตตันถูกซื้อไปด้วยลูกปัดที่ทำจากแก้วในราคา $24 ก่อนที่อังกฤษจะเข้ายึดครองเป็นอาณานิคมของตนใน ค.ศ. 1664 และเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่า “นิวยอร์ก” เพื่อเกียรติให้กับ "ดยุคแห่งยอร์คและอัลแบนี" (English Duke of York and Albany) ขณะนั้นคือสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ในช่วงปลายสงครามแองโกล-ดัตช์ครั้งที่ 2 ชาวเนเธอร์แลนด์ได้ยึดครองเกาะรัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน และเป็นสิ่งที่มีค่ามากในขณะนั้น แลกกับการให้อังกฤษยึดครองนิวอัมสเตอร์ดัม หรือนิวยอร์กในดินแดนอเมริกาเหนือ ส่งผลให้ต่อมาใน ค.ศ. 1700 ประชากรชาวเลนาเปลดลงเหลือเพียง 200 คน

ภายใต้กฎระเบียบของอังกฤษ นิวยอร์กได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วกลายเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ที่สำคัญอย่างยิ่ง ใน ค.ศ. 1754 มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ที่ได้รับสิทธิจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ เช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ (King's College) ที่แมนแฮตตันตอนใต้ ก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติอเมริกา (American Revolution War) เนื่องจากอาณานิคมทั้งสิบสามที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษต้องการแยกตัวออกเป็นอิสระ และได้ทำการประกาศอิสรภาพในวันที่ 4 กรกฎาคม 1776 นำโดยจอร์จ วอชิงตัน ผู้บัญชาการกองทัพภาคพื้นทวีปของฝ่ายอาณานิคม (Continental Army) มีการรบกับกองทัพอังกฤษทางตอนเหนือของแมนแฮตตัน และบรูคลิน จนกระทั่งสงครามได้สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1783 โดยชัยชนะเป็นของอดีตอาณานิคม

ภายหลังสงครามยุติลงได้มีการจัดประชุมและประกาศให้นิวยอร์กเป็นเมืองหลวง (จนถึง ค.ศ. 1790) ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Constitution) จอร์จ วอชิงตัน ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนแรก และเข้าแถลงต่อสภาคองเกรสใน ค.ศ. 1789 รวมทั้งมีการร่างกฎบัตรว่าด้วยสิทธิของชาวอเมริกัน (United States Bill of Rights) ณ เฟดเดอรัลฮอล (Federal Hall) (ปัจจุบันคืออนุสรณ์สถานแห่งชาติ) ที่วอลล์สตรีท และถือเป็นการเริ่มต้นดินแดนใหม่ที่ถูกเรียกว่า "สหรัฐอเมริกา" ก่อนที่จะแผ่ขยายอาณาเขตของตนเองจาก 13 รัฐไปถึง 50 รัฐกับอีกหนึ่งเขตปกครองกลาง

ใน ค.ศ. 1898 ได้มีการยกระดับฐานะของนิวยอร์กโดยรวมเอาบรูคลิน เคาน์ตี้ นิวยอร์ก (ซึ่งรวมถึงส่วนของเดอะบรองซ์ด้วย) เคานตี้ ริชมอนด์ และส่วนตะวันตกของเคาน์ตี้ ควีนส์ เป็นหนึ่งเดียวกัน ให้เป็นมหานครนิวยอร์กมาถึงปัจจุบัน

นิวยอร์กประกอบด้วย 5 โบโรฮ์ (Borough) โดยในแต่ละโบโรฮ์ก็จะและแบ่งแยกย่อยออกเป็นอีกหลายเขตชุมชนย่อย (Neighborhoods) โดยที่โบโรฮ์จะขึ้นอยู่กับเทศมณฑล หรือ เคาน์ตี้ (County) โดยเป็นเขตการปกครองของรัฐนิวยอร์ก ศูนย์กลางของมหานครนิวยอร์กคือ แมนแฮตตัน ซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญของทั้งเมือง และถูกล้อมรอบด้วยโบโรฮ์อื่น

นิวยอร์กมีพื้นที่กว่า 113 กม? (28,000 เอเคอร์) ที่มีบริเวณเป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่มีต้นไม้ขึ้นเป็นกลุ่มๆ และชายหาดความยาวถึง 22 กิโลเมตร (14 ไมล์) พื้นที่หลายหมื่นเอเคอร์ดังกล่าวเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวนิวยอร์ก เป็นส่วนหนึ่งของระบบอุทยานแห่งชาติด้วย สำหรับสวนสาธารณะนั้น นิวยอร์กมีสวนสาธารณะกว่า 1,700 แห่ง ทั้งเล็กใหญ่กระจายไปในตัวเมือง ซึ่งที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก็ คือ เซ็นทรัลพาร์ก ในแมนแฮตตัน สวนแห่งนี้ถูกออกแบบโดย Frederick Law Olmsted และ Calvert Vaux มีผู้เข้าเยี่ยมชมกว่า 30 ล้านคนต่อปี ถือเป็นสวนสาธารณะที่มีผู้คนเข้าเยี่ยมชมมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา (อันดับที่ 2 คือ ลินคอล์นพาร์ก ในชิคาโก) นอกจากนั้น Olmsted และ Vaux ยังเป็นผู้ออกแบบ โพรสเปคพาร์ก ในบรูคลินอีกด้วย ขณะที่ฟลัชชิ่ง เมลโด โคโรน่าพาร์ก ที่ควีนส์ ก็เคยถูกใช้ในการจัดงานเวิลด์แฟร์ ใน ค.ศ. 1939 และ ค.ศ. 1964 มาแล้ว

ระบบขนส่งสาธารณะของเมืองถือว่ามีความสำคัญอย่างมากกับการเดินทางของชาวนิวยอร์ก โดยคิดเป็น 1 ใน 3 ของผู้ใช้ระบบขนส่งในสหรัฐอเมริกา และ 2 ใน 3 ของผู้ใช้การขนส่งระบบรางอาศัยอยู่ในนิวยอร์กและพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งนั้นตรงกันข้ามกับวิถีของคนส่วนใหญ่ในประเทศนี้ที่ 90% ใช้รถยนต์ส่วนตัวไปทำงาน นิวยอร์กเป็นเพียงเมืองเดียวในสหรัฐอเมริกาที่ประชากรในท้องถิ่นกว่าครึ่งไม่มีรถยนต์ส่วนตัว (โดยเฉพาะในแมนแฮตตัน กว่า 75% ของผู้พักอาศัยไม่มีรถยนต์ส่วนตัว หรือคิดเป็น 8% ของคนทั้งสหรัฐอเมริกา) และรายงานของสำนักงานสำมะโนประชากรสหรัฐอเมริกา (US Census Bureau) พบว่าผู้พักอาศัยในนิวยอร์กจะใช้เวลาเฉลี่ยกับการเดินทางไปทำงานประมาณ 38.4 นาที ต่อวัน ซึ่งนั้นถือเป็นเวลาที่ใช้ในการเดินทางนานที่สุดในกลุ่มเมืองขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา

การขนส่งระหว่างเมืองนิวยอร์กให้บริการในระบบรางโดย เอมแทรค (Amtrak) มีสถานีเพนซิลเวเนีย เป็นสถานีหลัก เชื่อมการเดินทางระหว่างนิวยอร์กไปยัง บอสตัน ฟิลาเดลเฟีย และวอชิงตัน ดี.ซี.

รถไฟใต้ดินนิวยอร์ก จัดว่าเป็นระบบขนส่งความเร็วสูง (Rapid Transit) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งนับจากสถานีที่มากถึง 468 สถานี และมีผู้ใช้บริการต่อปีมากสุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก (ผู้โดยสารประมาณ 1.5 พันล้านคน ใน ค.ศ. 2006) รถไฟใต้ดินมหานครนิวยอร์กมีจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ การให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ผิดกับรถไฟใต้ดินในเมืองอื่นๆ ที่จะปิดให้บริการในเวลากลางคืน ไม่ว่าจะเป็น ลอนดอน ปารีส วอชิงตัน ดี.ซี. มาดริด โตเกียว หรือ กรุงเทพมหานคร ระบบการคมนาคมในนิวยอร์กสามารถให้บริการได้อย่างครอบคลุมและซับซ้อน ซึ่งรวมถึงสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในอเมริกาเหนือ อุโมงค์รถยนต์ที่มีความทันสมัยแห่งแรกของโลก แท็กซี่เยลโล่ แคป (Yellow Cabs) มากกว่า 12,000 คัน กระเช้าไฟฟ้า (Aerial Tramway) ที่ให้บริการระหว่าง รูสเวลท์ ไอส์แลนด์ (Roosevelt Island) และแมนแฮตตัน และเรือเฟอร์รี่ที่เชื่อมระหว่างแมนแฮตตันกับพื้นที่อื่นๆ นอกเมือง โดยมีสแตนตัน ไอส์แลนด์ เฟอร์รี่ ซึ่งถือเป็นเรือเฟอร์รี่ที่มีผู้ใช้บริการมากถึง 19 ล้านคนต่อปี ให้บริการในระยะทาง 5.2 ไมล์ (8.4 กิโลเมตร) ระหว่างสแตนตัน ไอส์แลนด์ และแมนแฮตตันตอนใต้

รถโดยสารประจำทาง และโครงข่ายระบบรางของนิวยอร์ก ถือได้ว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือ โครงข่ายระบบรางจะเชื่อมกับพื้นที่ชานเมืองของรัฐที่อยู่ใกล้เคียง 3 รัฐ (Tri-state Region) ประกอบไปด้วยพื้นที่ทางตอนใต้ของรัฐนิวยอร์ก (รวมโบโรห์ทั้ง 5 ของเมืองนิวยอร์กด้วย) พื้นที่ตอนเหนือของรัฐนิวเจอร์ซีย์ และพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐคอนเนตทิคัต โดยมีสถานีมากกว่า 250 แห่ง ใน 20 เส้นทาง สถานีหลักคือแกรนด์เซ็นทรัลเทอร์มินัล และสถานีเพนซิลเวเนีย

ระบบรถโดยสารประจำทาง และระบบรถไฟในนิวยอร์กนั้นจะเป็นส่วนเดียวกัน ตั๋วรถไฟและตั๋วรถประจำทางสามารถใช้ร่วมกันได้ โดยรถไฟจะวิ่งในแนวเหนือใต้ ขณะที่รถโดยสารประจำทางส่วนใหญ่จะวิ่งในแนวตะวันออกตะวันตก

นิวยอร์กยังติดอันดับเมืองที่มีการขนส่งทางอากาศมากที่สุด ผู้มาเยือนส่วนใหญ่จะใช้นิวยอร์กเป็นประตูเข้าสู่สหรัฐอเมริกา ในพื้นที่ของเมืองมีท่าอากาศยานที่สำคัญอยู่ถึง 3 แห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี (JFK) ท่าอากาศยานนานาชาตินูอาร์ก ลิเบอร์ตี (EWR) และท่าอากาศยานลากวาเดีย (LGA) นอกนั้นยังมีแผนที่จะสร้างท่าอากาศยานแห่งที่ 4 คือ ท่าอากาศยานนานาชาติสจ๊วต (SWF) ใกล้กับเมืองนิวเบิร์ก รัฐนิวยอร์ก ภายใต้ความรับผิดชอบของการท่าแห่งนิวยอร์กและนิวเจอร์ซีย์ (Port Authority of New York and New Jersey) เพื่อรองรับกับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น ใน ค.ศ. 2005 มีนักท่องเที่ยวประมาณ 100 ล้านคน ที่ใช้ท่าอากาศยานทั้ง 3 แห่งในการเดินทาง การจราจรทางอากาศในนิวยอร์กถือว่ามีความหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา

การเดินทางด้วยจักรยานก็ยังมีให้เห็นในนิวยอร์ก มีผู้ใช้จักรยานประมาณ 120,000 คนต่อวัน และยังมีผู้คนอีกจำนวนมากที่อาศัยการเดินเท้า การเดินและการใช้จักรยานในการเดินทางมีอัตราอยู่ประมาณ 21% จากแต่ละวิธีในการเดินทางในเมือง

อีกองค์ประกอบของระบบคมนาคมขนส่งในนิวยอร์ก ก็คือ ทางด่วน (Expressways) และทางธรรมดา (Parkways) ที่มีโครงข่ายที่ครอบคลุม เชื่อมต่อนิวยอร์กไปยังตอนเหนือของรัฐนิวเจอร์ซีย์ เวสต์เชสเตอร์ เคาน์ตี้ ลองไอแลนด์ และตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐคอนเนตทิคัต โดยผ่านทั้งสะพาน และอุโมงค์ใต้น้ำ (ค่าผ่านทางประมาณ $7-$15 ต่อรอบ) เส้นทางดังกล่าวได้ให้ความสะดวกกับการเดินทางสู่นิวยอร์กสำหรับผู้ที่พักอาศัยอยู่ในแถบชานเมือง แต่ในบางครั้งก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาการจราจรติดขัด โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน สะพานจอร์จ วอชิงตัน หนึ่งในเส้นทางเชื่อมต่อ ก็เป็นสะพานแห่งหนึ่งของโลกที่มีการจราจรที่คับคั่งที่สุด

ระบบคมนาคมขนส่งและถนนในนิวยอร์ก เป็นระบบที่มีคุณภาพและเป็นหน้าตาของเมือง เป็นผลมาจากรูปแบบการวางผังเมืองด้วยโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพ ผังเมืองในแมนแฮตตันถูกออกแบบมาในลักษณะแนวสี่เหลี่ยมตัดกัน (Grid Plan) เมื่อมองจากทางอากาศจะเห็นถนนวางตัวหลักเป็นแนวสี่เหลี่ยมอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยจะมีระบบชื่อเรียกถนนว่า “สตรีท” และ “อเวนิว” ถนนที่วิ่งแนวตะวันออก-ตะวันตก จะใช้ชื่อว่า “สตรีต” และตัวเลขของถนนจะนับจากทิศใต้เพิ่มขึ้นเรื่อย ในขณะเดียวกันถนนที่วิ่งแนวเหนือ-ใต้ จะใช้ชื่อว่า “อเวนิว” ซึ่งตัวเลขถนนจะเริ่มต้นจากทิศตะวันออกจากแม่น้ำอีสต์ไปสู่ทิศตะวันตกจบที่แม่น้ำฮัดสัน การวางผังเมืองในรูปแบบนี้ทำให้สะดวกค้นหาสถานที่ โดยบอกตำแหน่งของอาคารหรือสำนักงานส่วนใหญ่ จะบอกเป็นชื่อของถนนสองเส้นที่ตัดกัน เช่น ตึกเอมไพร์สเตต ตั้งอยู่ที่อเวนิว 5 (5th Avenue) ตัดกับสตรีต 34 (34th Street) ซึ่งถ้าต้องการเดินทางจากไทม์สแควร์ (สตรีต 42 ตัดกับ อเวนิว 7) จะทำให้ทราบได้เลยว่าต้องเดินทางไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือจึงจะถึงเอมไพร์สเตต

นอกจานั้นแล้วชื่อของถนน (สตรีท และ อเวนิว) บางแห่งยังมีชื่อเรียกเฉพาะ อย่างเช่น บรอดเวย์ (ภาพยนตร์) วอลล์สตรีท (การเงิน) และเมดิสันสแควร์ อเวนิว (การโฆษณาองค์กร) ตามแต่ลักษณะของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่ตั้งอยู่นั้นย่านนั้น

สำหรับผังเมืองในโบโรห์อื่นก็ถูกออกแบบมาในลักษณะแนวสี่เหลี่ยมเช่นเดียวกับในแมนแฮตตัน แต่การวางแนวถนนโดยแบ่งเป็นเหนือใต้ หรือตะวันออกตะวันตกจะไม่แน่นอน

นิวยอร์กมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในเกาะแมนแฮตตัน นักท่องเที่ยวมักจะแวะตามที่สถานที่เที่ยวที่มีชื่อเสียงได้แก่ ตึกเอมไพร์เสตต ตึกไครสเลอร์ ไทม์สแควร์ เทพีเสรีภาพ วอลล์สตรีต สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ โบสถ์เซนต์แพทริก สะพานบรูคลิน เรือบรรทุกเครื่องบินอินทรีพิด เซ็นทรัลปาร์ค

แหล่งชอปปิ้งมากมายเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว ได้แก่ บริเวณ ฟิฟท์อเวนูสำหรับของมียี่ห้อและเครื่องประดับ ห้างสรรพสินค้าเมซีส์ (Macy's) ห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ เฮอรัลด์สแควร์ที่มีขายของหลายระดับ กรีนวิชวิลเลจมีของขายเกี่ยวกับซีดีเพลงและหนังสือ อีสต์วิลเลจสำหรับขายของที่น่าสนใจ ถนน 47th ช่วงระหว่าง ฟิฟท์อเวนู และซิกซ์อเวนู ขายเครื่องประดับและอัญมนี โซโหแหล่งชอปปิ้งเสื้อผ้าชั้นนำต่างๆ เชลซีสำหรับการซื้อขายงานศิลป์ นอกจากในเขตแมนแฮตตันยังมีบริเวณดาวน์ทาวน์บรูคลิน และบริเวณควีนส์บูเลอวาร์ดในควีนส์ สำหรับแหล่งชอปปิ้งอื่นๆ

ในช่วงวันสิ้นปี บริเวณไทมส์แสควร์จะมีผู้คนหลายแสนคนไปรวมกันเพื่อไปเคานต์ดาวน์ ต้อนรับงานปีใหม่ และในช่วงวันขอบคุณพระเจ้า ทางห้างเมซีส์ จัดขบวนพาเหรดทุกปี บริเวณถนนบอร์ดเวย์

พิพิธภัณฑ์ที่เป็นที่รู้จักในนิวยอร์กได้แก่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตัน (เดอะเม็ต) Museum of Modern Art (โมมา) และ American Museum of Natural History

ทางด้านของการแข่งขันระดับโลก นครนิวยอร์กก็มีชื่อเสียงในรายการแข่งขันที่สำคัญหลายรายการ เช่น

ยังมีกีฬาอีกมากมายที่มีความเกี่ยวข้องกับนิวยอร์กซึ่งมาจากกลุ่มผู้เข้ามาตั้งรกรากในเมืองแห่งนี้ สติ๊กบอล (Stickball) เป็นเบสบอลในรูปแบบของสตรีทเกม จัดว่าเป็นกีฬาที่นิยมในเขตชุมชนอิตาเลียน เยอรมัน และไอริช ในปี 1930 ซึ่งสติ๊กบอล ก็ยังคงได้รับความนิยมมาถึงปัจจุบัน ถึงขนาดว่าถนนแห่งหนึ่งในเดอะบอรงซ์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสติ๊กบอล บูเลอวาร์ด (Stickball Blvd.) และทำให้นิวยอร์กถูกเปรียบว่ามีกีฬาในรูปสตรีทเกมที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ก็มีการนำเอาลีกคริกเกตสมัครเล่นเข้ามาในนิวยอร์ก จากผู้ที่ย้ายถิ่นมาจากเอเชียใต้ และแถบแคริเบียน กีฬาประเภทสตรีทฮอกกี้ สตรีทฟุตบอล และสตรีทเบสบอล เป็นกีฬาที่จะเห็นคนทั่วไปเล่นกันบนท้องถนนของนิวยอร์ก ทำให้บ่อยครั้งที่เมืองนี้จะถูกเรียกว่า “เมืองสนามเด็กเล่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก” กีฬาในรูปสตรีทเกมเป็นกีฬาที่เข้าใจวิธีการเล่นได้ง่าย และทุกเพศทุกวัยสามารถที่จะเล่นได้


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301